วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ที่ดิน 2งาน 97ตารางวา ใจกลางเมือง

ที่ดิน 2งาน 97ตารางวา ใจกลางเมือง 
งานละ 1.5 ล้าน ผู้ซื้อโอนเอง
ถมแล้ว ที่สวย










ที่ดิน 3 งาน 12 ตรว อยู่ในวงแหวน อยู่หลัง ราชพัฎ อุดรธานี

ที่ดิน 3 งาน 12 ตรว อยู่ในวงแหวน อยู่หลัง ราชพัฎ อุดรธานี ไม่ถึง 1 กิโลเมตร ทำเลสวยหัวมุม






 ราคา 6.5 ล้าน ผู้ซื้อโอนเอง


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ขาย JBL SRX 700 ซุ่มเสียง 90 % ผ่าน

*********ขาย ๋JBL SRX 700 ซุ่มเสียง 90 % ****************
ของจีน เกรด A
22,000 พร้อมส่ง
พนม 0847432980 



ตัวนี้ รออะไหล่ แท้ สำหรับตัวนี้





สวย ใช้ได้ เนียน













อันนี้ของจริง 


อันนี้ของจริง 


ของจริง ลูกค้าส่งซ่อม



ตูดใหญ่เสียงชัด










แม่เหล็กใหญ่มาก


เนตเวอร์คใหญ่ดี 




วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

-OOOOขาย 5.1 Home Theater in a Box System Yamaha YHT-296 ซื้อมายังไม่เสียบปลั๊กOOOO-

-OOOOขาย 5.1 Home Theater in a Box System Yamaha YHT-296 ซื้อมายังไม่เสียบปลั๊กOOOO-
สภาพ 100 มีเพียงเปิดดูของ ซื้อมา 13900 บาท ประกันศูณย์ 1 ปี ขายน้องยา 12900 บาท พร้อมส่งทั่วประเทศ        พนม 0847432980 yakizaza@gmail.com สรรพคุณไม่ต้องบรรยาย 

5.1 Home Theater in a Box System
Yamaha YHT-296      ขายแล้ว ขอบคุณ เจ้าภาพปทุมธานี



จิ๋วแจ๋ว
ขยัน(จึง)ขันแข็ง !!!

ด้วยความง่ายในการจัดหา และสะดวกในการติดตั้ง บวกกับราคาที่เป็นมิตร แต่อรรถประโยชน์หลากหลาย (ลงทุนน้อย แต่ได้ฟังกชั่นอเนกประสงค์หลากหลายมาก) ซื้อครั้งเดียวจบครบทุกอย่าง ไม่ต้องวุ่นวายแม็ตชิ่งอุปกรณ์ เหตุนี้ซิสเต็ม HTiB หรือ Home Theater in a Box จึงได้รับหน้าที่สำคัญ คือ รับใช้ผู้ที่เพิ่งเริมสนใจเครื่องเสียง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการซิสเต็มลำโพงโฮมเธียเตอร์เล็กๆ สักชุดมาสร้างความบันเทิงภายในบ้าน มาเกือบทุกยุค ทุกสมัย

ข้อมูลสำคัญของ Yamaha YHT-296*
TypeHTiB 5.1
Video SectionVideo Up-scale-
Video Conversion-
3D Video Pass-through
HDMI In/Out4 / 1
Audio SectionAmplifier100W x 5 (AVR)
(1kHz, 0.9% THD, 6-ohm)50W (SW)
(100Hz, 10% THD, 5-ohm)
Auto CalibrationYPAO
HD Audio Decoder
ARC
DSD Direct
 Media & NetworkUSB-
DLNA/AirPlay- / -
Online Content-
Special FeaturesDock Port,
Analog 3.5mm Input
Power ConsumptionTypical250W
Standby1W
 Weight7.5kg (HTR-3064)
0.48kg (NS-B20)
0.62kg (NS-C20)
7.0kg (NS-SW20)
*ข้อมูลทางสเป็ก อ้างอิงจากเอกสารเผยแพร่ของทางผู้ผลิต
ราคาทั้งชุด (AVR+Speakers+Accessories) 18,900 บาท


YHT-296 เป็นชุดโฮมเธียเตอร์แบบ HTiB ซึ่งถือเป็นซิสเต็ม "กึ่งสำเร็จรูป" กล่าวคือผู้ผลิตได้ทำการจัดเซ็ตอุปกรณ์ที่มีความสำคัญสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์มาแล้ว เพียงแค่ติดตั้ง เชื่อมต่อสายต่างๆ เข้าด้วยกัน ก็สามารถใช้งานได้ทันที อุปกรณ์สำคัญชิ้นแรกที่ขาดไม่ได้ คือ ภาคขยายมัลติแชนเนล ซึ่งในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นภาคถอดรหัสเสียงดิจิทัลเซอร์ราวด์รอบทิศทาง บวกกับการเป็นจุดศูนย์รวมการเชื่อมต่ออุปกรณ์ความบันเทิงระบบภาพและเสียง พร้อมติดตั้งภาครับวิทยุ AM/FM ให้ฟังเพลงฟรีกันเพลินๆ ด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ถูกผนวกรวมอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน คือ AV Receiver ซึ่ง AVR ในชุด YHT-296 มีลักษณะคล้ายคลึงกับตระกูล RX-V (AVR แบบชุดแยกชิ้น)

ชื่อรุ่น คือ HTR-3064 ดูแล้วอาจแปลกตา เพราะรหัสไม่ใกล้เคียงซีรี่ส์ RX-V แต่อย่างใด ทว่าไม่ต้องห่วง เพราะดูศักยภาพ และฟีเจอร์พื้นฐานต่างๆ แล้ว มันก็น้องๆ ซีรี่ส์ RX-V นี่เอง กล่าวได้ว่า AVR สำหรับซิสเต็ม HTiB เครื่องนี้ไม่ธรรมดา รายละเอียดตรงนี้จะขยายความต่อไปครับ เบื้องต้นมาดูลักษณะภายนอก รวมถึงจุดเชื่อมต่อต่างๆ กันก่อน


ข้างๆ สวิทช์ Power On/Standby จะเห็นจุดเชื่อมต่อ YPAO Setup Mic แน่นอนเป็นสิ่งยืนยันว่า HTR-3064 มีระบบ Auto Calibration แบบเดียวกับ AVR ซีรี่ส์ RX-V อันจะช่วยให้การเซ็ตอัพระบบลำโพงสะดวก รวดเร็ว และลงตัวกับสภาพแวดล้อมของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น... อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงการคาดการณ์แนวโน้มความเป็นไปได้ แต่จะทราบศัยกภาพที่แท้จริงได้นั้น เดี๋ยวเราจะมาพิสูจน์กัน


จุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ระบบภาพและเสียงที่แผงหน้า อันมีส่วนเพิ่มความสะดวก (ไม่ต้องเอื้อมไปเสียบด้านหลัง) ถูกจัดรวมไว้ด้วยกันที่ Video AUX Input โดยเป็นรูปแบบอะนาล็อกทั้งสิ้น คือ Video Composite + Audio Stereo RCA เท่านั้น ยังไม่มี Front HDMI In หรือช่องต่อแบบดิจิทัลอื่นใด รวมถึงช่องต่ออเนกประสงค์ยอดฮิตสำหรับยุคดิจิทัลออดิโอเวลานี้ อย่าง USB แต่ผู้ผลิตก็ทดแทนด้วย Analog Audio 3.5mm นอกจากนี้ยังมีช่องต่ออีกอย่าง ซึ่งถือเป็นมาตรฐาน คือ ติดมากับ AVR เสียทุกเครื่อง แต่บางท่านอาจไม่ได้ใช้งานเลย คือ PHONES Out สำหรับเสียบหูฟัง (อยู่มุมซ้ายล่าง ใต้สวิทช์เพาเวอร์) ซึ่งเหมาะกับการรับฟังแบบส่วนตัวครับ

หมายเหตุ: กรณีที่มิได้ใช้ช่องต่อ Video AUX ทาง Yamaha ให้ฝาปิดสีเดียวกับแผงหน้ามาด้วย ซึ่งช่วยป้องกันฝุ่นได้ 

บริเวณกึ่งกลางเป็นตำแหน่งจัดวางปุ่มปรับเซ็ตต่างๆ รวมถึงปุ่มเลือกอินพุตแหล่งโปรแกรม (Input Selector) และโหมดการรับฟัง (Yamaha เรียก Listening Mode ว่า "Sound Field Program") ซึ่งปุ่มต่างๆ เหล่านี้อาจจำเป็นต้องใช้กรณีที่รีโมตไร้สายมิได้อยู่ใกล้มือ (ปุ่มฟังก์ชั่นหลักทั้งหมดบนหน้าปัดนี้ สามารถสั่งการด้วยรีโมตคอนโทรลไร้สายครบถ้วน ซึ่งให้ความสะดวกมากกว่า โดยเฉพาะการควบคุมระยะไกลจากตำแหน่งนั่งฟัง)
ข้อมูลควรทราบ

หน้าที่ของ Straight Mode คืออะไร? แตกต่างจาก Pure Direct Mode (หรือ Direct) อย่างไร?

ในส่วนของ Sound Field Program หรือโหมดการรับฟัง (Listening Mode) ทาง Yamaha แบ่งออกเป็น 5 หมวดย่อยๆ คือ Movie & Music (DSP Sound Field), STEREO, SUR. DECODE และ STRAIGHT Mode (ไม่นับ ENHANCER)ส่วน "Pure Direct" สำหรับ HTR-3064 ไม่มีนะครับ (สังเกตได้ว่าที่แผงหน้าไม่มีปุ่ม Pure Direct ซึ่ง Pure Direct จะมีใน Yamaha AVR รุ่นกลาง-สูงขึ้นไป อันที่จริงซิสเต็ม YHT-296 ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โหมด Pure Direct นี้แต่อย่างใด) ทั้งนี้ในสถานการณ์ทั่วไป โหมดการรับฟังที่จำเป็นต้องใช้มากกว่า คือ "Straight" ครับ


การปรับเปลี่ยน Sound Field Program (หรือ Listening Mode) สำหรับ YHT-296 (HTR-3064) กระทำได้ที่รีโมตคอนโทรล ซึ่งจัดหมวดหมู่ย่อยเอาไว้เพื่อความสะดวก หรือเลือกจากปุ่ม PROGRAM ที่แผงหน้าตัวเครื่องก็ได้ (ตรงนี้ไม่แยกหมวด ต้องใช้วิธีกดไล่ลำดับไปเรื่อยๆ)

ในทางทฤษฎีนั้น Pure Direct Mode เป็นการกำหนดโหมดการรับฟัง ให้สถานะการทำงานของ AVR ใกล้เคียง Analog Amplifier มากที่สุด (แต่ยังคงรองรับการรับฟังแหล่งโปรแกรมระบบเสียงดิจิทัลได้) โดยระบบจะตัดการทำงานที่อาจรบกวนคุณภาพเสียง อย่างภาควิดีโอ รวมถึง Digital Processing (เช่น ระบบชดเชย หรือปรับแต่งเสียงต่างๆ) ออกไป นัยว่าเพื่อพยายามคงสัญญาณเสียง "ต้นฉบับ" (Original) จากอินพุตแหล่งโปรแกรม ไปจนถึง เอาต์พุต (ภาคขยาย) นั่นเอง แน่นอนว่าแนวทางนี้จะเหมาะกับการรับฟังดนตรี (Audio Only) บนพื้นฐานที่ตัวแปรหลัก คือ ซิสเต็มมีศักยภาพสูง สามารถถ่ายทอดเสียงตลอดย่านได้ย่างเที่ยงตรง แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมลงตัว ปลอดการรบกวนจากตัวแปรลดทอนความเที่ยงตรงใดๆ ตามอุดมคติ... ซึ่งในความเป็นจริงความต้องการข้างต้น มิใช่จะประสบพบเจอกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการใช้งานในบ้านพักอาศัยทั่วไป เพราะในสภาพแวดล้อมดังกล่าว รวมถึงข้อจำกัดบางประการของซิสเต็ม จำเป็นต้องอาศัยระบบชดเชย (ช่วยเหลือ) บางด้าน เพื่อให้ซิสเต็มสามารถตอบสนองต่อสภาพการใช้งานอย่างลงตัว และยืดหยุ่นยิ่งขึ้น

ระบบชดเชยที่จำเป็นดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชั่นเซ็ตอัพระบบลำโพง เช่น Digital Crossover (HPF for Main Speakers & LPF for Subwoofer), Multi-CH Speakers Distance Delay & Level Balance, Room EQ etc. อันเป็นระบบที่ต้องอาศัยการประมวลผลทางดิจิทัลขั้นสูง ซึ่งเมื่อเลือก Pure Direct Mode ระบบต่างๆ เหล่านี้จะถูกตัดออกไปเบ็ดเสร็จ

แม้ว่าการชดเชย-ปรับแก้ จากระบบประมวลผลทางดิจิทัล (Digital Processing)  จะเปลี่ยนแปลง "ความเป็นต้นฉบับ" ของสัญญาณเสียงไปบ้าง แต่ระบบชดเชยการตั้งค่าลำโพงที่กล่าวไปข้างต้น ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะบ่อยครั้งการเซ็ตอัพใช้งานระบบลำโพงโฮมเธียเตอร์มิได้อยู่ในสภาพแวดล้อมทางอุดมคติที่เพียบพร้อมตามมาตรฐานอ้างอิง แต่อีกด้านหนึ่งเราสามารถขจัดระบบประมวลผลอื่นๆ ที่ลดทอนความเป็นต้นฉบับลง คือ ในส่วนที่ไม่จำเป็น ก็ไม่ควรใช้ เช่น Tone Control (Treble/Bass) และระบบเสียง DSP Sound Field ต่างๆ (รวมถึงระบบเสียง CINEMA DSP ของ Yamaha เองด้วย) ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า DSP หรือ Sound Field เป็น "การปรุงแต่งเสียง"ให้แตกต่างไปจากเดิม บางครั้งอาจจะจำลองเสียงให้เหมือนกับอยู่ในสถานที่ขนาดใหญ่ (เช่น Concert Hall) บางรูปแบบก็ทำให้เสียงกว้างๆ ก้องๆ ฟังแล้วหลอนๆ ก็มี รวมถึงการจำลองระบบเสียงรอบทิศทางจากแหล่งโปรแกรมที่มิได้บันทึกมาในระบบเซอร์ราวด์ ซึ่งบางครั้งมันก็สร้างความบันเทิงได้บ้างเหมือนกัน (ไม่จำเจดี) แต่ถ้ามองในแง่ของความเป็นออริจินัลแล้ว ต้องบอกว่า พวกนี้ คือ "การปรุงแต่ง" ครับ

หากอยากจะฟัง "เสียงแท้ๆ" คือ ปลอดจากการใช้ระบบ DSP Sound Field โดยยังคงระบบชดเชยที่จำเป็นจะทำอย่างไร? ก็ไม่ยากครับ กดเลือก "Straight Mode" นั่นไง และทุกครั้งที่ Yamaha AVR อยู่ในสถานะ "Straight" ภาคถอดรหัสเสียง (Digital Decoder) จะทำการเลือก Listening Mode (Surround Decoder) ให้ตรงกับระบบเสียงของแหล่งโปรแกรมโดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อระบบเสียงจากแหล่งโปรแกรม คือ DTS-HD MA 5.1 ระบบก็จะใช้ภาคถอดรหัสเสียง DTS-HD MA 5.1 ตรงตามต้นฉบับ โดยไม่มีการผนวกระบบเสียงปรุงแต่งใดๆ เช่นกันหากรับฟังแหล่งโปรแกรมสเตริโอ (PCM 2-channel) ระบบจะกำหนด Listening Mode เป็น 2CH STEREO ให้โดยอัตโนมัติ (โหมดนี้หากใช้งานลำโพงวางหิ้ง หรือแซทเทลไลท์ขนาดเล็ก ระบบจะกำหนดการรับฟังเป็นแบบ 2.1 ตามลักษณะของซิสเต็ม กล่าวคือ ซับวูฟเฟอร์จะทำงานสอดประสานไปพร้อมลำโพงคู่หน้า เพราะระบบชดเชยอย่าง Digital Crossover จะยังเปิดใช้งานอยู่ ซึ่งกรณีนี้จะทำไม่ได้กับ Pure Direct Mode)... เหล่านี้ คือ ตัวอย่างอรรถประโยชน์ที่จะได้รับจาก Straight Mode ครับ


เปรียบเทียบลักษณะการทำงานของลำโพง ในโหมดการรับฟัง (Listening Mode) ที่แตกต่างกันระหว่าง
Pure Direct Mode, Straight Mode และ DSP Sound Field โดยอ้างอิงจากแหล่งโปรแกรมต้นฉบับ
ระบบเสียงสเตริโอ (PCM 2-channel)

(*Pure Diret Mode มีใน Yamaha AVR รุ่นกลาง-สูงขึ้นไป)

กล่าวโดยสรุป คือ Straight Mode เป็นแนวทางที่พยายามคงความเป็นต้นฉบับของสัญญาณเสียงเอาไว้ ทว่าไม่ตัดระบบชดเชยการเซ็ตอัพระบบลำโพงที่จำเป็น จึงให้ความยืดหยุ่นลงตัวกับสภาพแวดล้อมที่ใช้งานมากกว่า Pure Direct Mode แต่หากวัดกันที่การคงความเป็นต้นฉบับ (Original) ของสัญญาณเสียง ในกรณีใช้งานกับซิสเต็มระดับอ้างอิงตามอุดมคติ Pure Direct จะตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุดครับ
ประโยชน์ที่จะได้รับตรงนี้ มิได้เกิดกับ AVR รุ่นเล็กๆ ในชุด HTiB นี้แต่เพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึง AVR รุ่นใหญ่ (RX-V, AVENTAGE หรือสูงกว่า) อันเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติการใช้งาน Straight กับ Pure Direct ที่ถูกต้องครับ
ต่อไป จุดเชื่อมต่อทางด้านหลัง HTR-3064 ครับ


มาดูช่องต่อทางด้านหลังกันบ้าง สังเกตได้ถึงความยืดหยุ่นจากความหลากหลายของจุดเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียง ที่ใกล้เคียงกับ AVR ในซีรี่ส์ RX-V ถึงแม้ปริมาณจะน้อยกว่าบ้าง ทว่าน่าจะรองรับการใช้งานอุปกรณ์ AV ต่างๆ ในปัจจุบันได้อย่างพอเพียง 
ขั้วต่อสายลำโพงสำหรับคู่หน้าเป็นแบบไบดิ้งโพสต์ จะเสียบสายลำโพงแบบเปลือย การขันล็อคก็แน่นหนาดี หรือเข้าหัวบานาน่าก็ได้ (ถอด-เสียบสะดวก) ส่วนแชนเนลอื่นๆ เป็นแบบสปริงหนีบ ซึ่งการใช้งานร่วมกับชุดลำโพงของ YHT-296 (รุ่นลำโพง คือ (NS-P20) ขั้วต่อสายลำโพงแบบสปริงหนีบก็น่าจะเพียงพอ ไบดิ้งโพสต์ถือเป็นของแถมพิเศษเผื่ออนาคตอยากจะเปลี่ยนลำโพงคู่หน้าก็แล้วกันครับ


ให้ HDMI In มา 4 ช่อง พร้อมช่องต่อสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิทัล และอะนาล็อก รูปแบบอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงช่องต่ออุปกรณ์เสริมพิเศษ อันเป็นรูปแบบเฉพาะของ Yamaha คือ Dock Port นั่นเท่ากับว่า ผู้ใช้สามารถอัพเกรดอุปกรณ์เสริมได้ในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น YBA-10 Bluetooth Audio Receiver และ YDS-12 Universal iPod/iPhone Dock


หน้าตารีโมตคอนโทรลเป็นแบบนี้ คงคุ้นเคยกันแล้ว เพราะคล้ายๆ กับตระกูล RX-V เลย

อุปกรณ์อื่นๆ ในชุด ขาดไม่ได้เลย คือ คู่มือการใช้งาน สำหรับยุคนี้ให้มาเป็น PDF ไฟล์ กันเสียส่วนใหญ่ (ลดปริมาณการใช้กระดาษ ลดโลกร้อน) ซึ่งต้องไปเปิดดูในคอมฯ คงมิใช่เรื่องยากลำบากสำหรับยุคนี้กระมัง แต่ต้องยอมรับว่าอาจไม่ทันใจนัก ทางผู้ผลิตก็คงเข้าใจ เลยให้เอกสาร "Quick Reference Guide" มาด้วย ผู้ใช้สามารถศึกษาอ้างอิงแนวทางการเชื่อมต่อ-ติดตั้งอุปกรณ์ได้เลย (แต่ถ้าต้องการศึกษาวิธีการตั้งค่าแบบละเอียด รวมถึงการใช้งานฟังก์ชั่นปลีกย่อยอื่นๆ ต้องดูจากคู่มือ PDF นะครับ)

อุปกรณ์สำคัญชิ้นถัดมา คือ YPAO Setup Mic สำหรับช่วยลดขั้นตอนยุ่งยากในการตั้งค่าลำโพง ถือเป็นระบบที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ โดยเฉพาะมือใหม่ นอกจากนี้ผู้ผลิตให้สายลำโพงยาว (ต้องมาตัดแบ่งเอาเองให้ได้ระยะความยาวตามตำแหน่งการติดตั้งลำโพงแต่ละแชนเนล) และสายสัญญาณสำหรับซับวูฟเฟอร์มาด้วย สะดวกดี ไม่ต้องออกไปหาซื้อเพิ่ม นับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของชุด HTiB อ้อ มีเสาอากาศวิทยุ AM และ FM มาด้วยครับ พร้อมแผ่นวัสดุสังเคราะห์สีดำสำหรับติดรองใต้ลำโพง เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการตั้งวาง


ลำโพงในซิสเต็ม YHT-296 มีชื่อรุ่นรวมเฉพาะชุดลำโพงว่า NS-P20
ประกอบไปได้วยลำโพงแซทเทลไลท์ขนาดเล็ก 5 ชิ้น และลำโพงแอ็คทีฟซับวูฟเฟอร์ขนาดย่อมอีก 1 ตู้


ลำโพงแซ็ทเทลไลท์สำหรับคู่หน้า และเซอร์ราวด์ เหมือนกันเป๊ะ คือ รุ่น NS-B20 ตัวตู้เป็นวัสดุสังเคราะห์สีดำเงา ทนทานต่อแรงกระแทกเป็นอย่างดี (ประเด็นนี้ทำได้ดีกว่าไม้) แต่น้ำหนักเบา ออกแบบลบมุมโค้งเว้า โดยเฉพาะด้านหลัง เพื่อลดทอนผนังตู้ที่ขนานกันป้องกันเสียงก้องสะท้อนภายใน แผงหน้าติดหน้ากากผ้ามา ไม่สามารถถอดออกได้ ติดตั้งไดรเวอร์ฟูลเรนจ์ขนาด 7cm (2-3/4") 1 ดอก มีค่าความต้านทานปกติที่ 6 โอห์ม รองรับกำลังขับปกติที่ 30W (สูงสุด 100W)
ขั้วต่อสายลำโพงเป็นแบบสปริงหนีบ (ปอกสายเปลือยแล้วแหย่เข้าไป)


เซ็นเตอร์ รุ่น NS-C20 มีโครงสร้างวัสดุพื้นฐานคล้ายคลึงกับคู่หน้า-เซอร์ราวด์ (NS-B20) ทว่าทรงตัวตู้ออกไปทางยาวในแนวขวาง แบบเดียวกับลักษณะของลำโพงเซ็นเตอร์ทั่วไป ขนาดโดยรวมจึงดูใหญ่กว่า NS-B20 เล็กน้อย ติดตั้งตัวขับเสียง คือ
ไดรเวอร์ฟูลเรนจ์ขนาด 7cm (2-3/4") 1 ดอก เหมือนกัน มีค่าความต้านทานปกติที่ 6 โอห์ม
รองรับกำลังขับปกติที่ 30W (สูงสุด 100W)


ลำโพงแอ็คทีฟซับวูฟเฟอร์ คือ รุ่น NS-SW20 ใช้เทคโนโลยีการออกแบบที่เรียกว่า Advanced Yamaha Active Servo เช่นเดียวกับซับวูฟเฟอร์รุ่นใหญ่ ออกแบบเป็นลำโพงตู้เปิด ท่อพอร์ทติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้าง ในขณะที่ติดตั้งไดรเวอร์แบบยิงหน้า ขนาด 16cm (6 1/2") พร้อมภาคขยาย 50W (100W dynamic power)


ด้านหลังเป็นตำแหน่งช่องต่อสัญญาณอินพุตแบบ Low-level (Mono RCA) และสวิทช์เพาเวอร์ (ไม่มีระบบ Auto Power On/Standby) ปุ่มปรับเซ็ตมีเพียงระดับวอลลุ่มเท่านั้น ส่วนครอสโอเวอร์เป็นแบบกำหนดค่าตายตัวมาจากโรงงาน (จากการทดสอบพบว่าระดับครอสโอเวอร์อยู่ที่ราว 120Hz บายพาสไม่ได้) สายไฟเป็นแบบ 2 ขา ติดกับตัวตู้

ลำโพงทั้งหมดไม่มีการชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก จึงควรติดตั้งห่างจากทีวีแบบ CRT ไม่น้อยกว่า 20cm
(ประเด็นนี้ไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับ LCD/LED TV และ Plasma TV)